
6 เรื่องควรรู้ก่อนซื้อเครื่องปรับอากาศ
- ประเภทเครื่องปรับอากาศ
เครื่องปรับอากาศส่วนใหญ่แบ่งประเภทตามลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันไป ดังนั้นควรเลือกใช้ให้เหมาะสม และที่สำคัญคือต้องอยู่ภายใต้มาตรฐานการรับรองผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)
- แบบติดผนัง 9000-36000 BTU
จุดเด่น คือ ไม่มีเสียงรบกวน มีฟังก์ชั่นให้เลือกใช้งาน รูปทรงสวยงาม และประหยัดพื้นที่
ข้อจำกัด คือ กระจายความเย็นและแรงลมได้น้อยกว่าแบบแขวนเพดาน
- แบบแขวนเพดาน 12000-38000 BTU
จุดเด่น คือ กระจายความเย็นได้ดี สามารถเลือกติดตั้งได้ทั้งตั้งพื้นหรือแขวนเพดานในห้อง รวมถึงติดตั้งได้ในห้องที่มีเพดานสูงและห้องที่เป็นกระจก
ข้อจำกัด คือ มีฟังก์ชั่นให้เลือกน้อย และใช้พื้นที่ในการติดตั้งมากเพราะรูปทรงแอร์มีขนาดใหญ่
- ขนาดความเย็น BTU ของเครื่องปรับอากาศ
BTU (British thermal unit) คือขนาดทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ มีหน่วย 1 ตันความเย็น เท่ากับ 12000 BTU ต่อชั่วโมง โดยสามารถเลือกขนาด BTU ให้เหมาะสมกับขนาดของห้องที่จะทำการติดตั้ง ดังนี้
ขนาดห้อง (ตร.ม.) |
ห้องนอน (BTU/hr.) |
ห้องทำงาน/ห้องรับแขก (BTU/hr.) |
ไม่โดนแดด |
โดนแดด |
ไม่โดนแดด |
โดนแดด |
9-12 |
7000 |
8000 |
8000 |
9000 |
13-14 |
8000 |
9000 |
9000 |
11000 |
15-17 |
9500 |
11000 |
11000 |
13500 |
18-20 |
12000 |
13500 |
13500 |
16500 |
21-24 |
15000 |
16500 |
16500 |
20000 |
25-33 |
18000 |
20000 |
20000 |
26500 |
34-44 |
24000 |
26500 |
26500 |
30000 |
ปัจจัยที่ควรพิจารณาเพิ่มเติมในการเลือกขนาด BTU
- ปริมาณและขนาดของหน้าต่าง
- ทิศที่แดดส่อง หรือทิศที่ตั้งของห้อง
- วัสดุหลังคามีฉนวนกันความร้อนหรือไม่
- ปริมาณคนที่ใช้งานในห้อง
- ปริมาณและประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ที่ทำให้เกิดความร้อนภายในห้อง
- มีฉลากรับรองคุณภาพและมาตรฐาน
เพื่อความมั่นใจสูงสุดว่าจะได้รับเครื่องปรับอากาศที่มีคุณภาพสมกับราคา และเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับการรับรองจากผู้ผลิต จึงควรมองหาสัญลักษณ์ดังต่อไปนี้
- ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 : เพื่อรับรองว่าเป็นเครื่องปรับอากาศที่มีค่าประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ (Energy Efficiency Rating : EER) มากกว่า 11.6 หน่วย ซึ่งจะได้รับจากทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เท่านั้น
- ฉลาก มอก. : ฉลากรับรองคุณภาพจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) โดยจะมีฉลากรับรอง 2 ตัวคือ มอก.1155 (มาตรฐานทั่วไป) และ มอก.2134 (ประหยัดพลังงาน)
- ค่าใช้จ่าย (พลังงาน) ในการใช้งาน
เครื่องปรับอากาศถือเป็นอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานมากและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นเราจึงควรทำความเข้าใจกับเรื่องของค่าใช้จ่ายพลังงาน เพื่อนำไปพิจารณาประกอบการเลือกซื้อให้ตรงตามความจำเป็นในการใช้งานจริง
ตารางแสดงค่าใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้า
|
เครื่องปรับอากาศ |
ขนาด BTU/ชม. |
จำนวนวัตต์ |
จำนวนหน่วยที่ใช้ใน 1 ชม. (lcw) |
ระยะเวลาที่ใช้ต่อวัน |
จำนวนหน่วยที่ใช้ (Unit)
ต่อเดือน |
ค่าไฟฟ้า (บาท/เดือน) |
ตั้งพื้น |
12000 |
1,300 |
1.33 |
8 ชม.
คอมเพรสเซอร์ทำงาน 6 ชม. |
239.4 |
914 |
แขวนเพดาน |
24000 |
2,710 |
2.71 |
487.8 |
1,863 |
**ค่าพลังงานไฟฟ้าต่อหน่วย = 3.82 บาท/หน่วย
- คุณสมบัติพิเศษ
ระบบฟิลเตอร์กรองอากาศ
- แผ่นกรองหยาบ สามารถกรองฝุ่นขนาดกลางถึงใหญ่ได้ วัสดุทำจากพลาสติกอย่างดี มีความเหนียวแน่นและทนทาน ส่วนมากจะใช้คลุมบริเวณแผงคอยล์เย็น มีอายุการใช้งานยาวนาน และสามารถถอดมาล้างน้ำเพื่อทำความสะอาดได้
- แผ่นกรองละเอียด มีหน้าที่กรองฝุ่นขนาดเล็ก ดักจับเชื้อรา รวมไปถึงเชื้อแบคทีเรียในอากาศ อายุการใช้งานประมาณ 3-6 เดือนขึ้นอยู่กับการใช้งาน ซึ่งแผ่นกรองแบบละเอียดนี้ไม่สามารถนำมาล้างทำความสะอาดได้ ควรจะเปลี่ยนเมื่อหมดอายุการใช้งาน
- แผ่นกรองกลิ่น มีหน้าที่ดักจับมลภาวะจำพวกคาร์บอน ผงถ่าน ทำให้สามารถกรองได้ทั้งกลิ่นอับและควัน อีกทั้งบางรุ่นยังสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้อีกด้วย
- แผ่นกรองอากาศแบบไฟฟ้าสถิต เป็นการใช้งานระดับสูงที่จะดักจับอนุภาค + และ – ในอากาศ และทำการกำจัดเชื้อแบคทีเรียได้ดีกว่าแผ่นกรอง
แอร์ระบบอินเวอร์เตอร์
อินเวอร์เตอร์ คือ กลไกที่ควบคุมการปรับเปลี่ยนรอบความเร็วของคอมเพรสเซอร์ และเปลี่ยนความถี่ของกระแสไฟฟ้าให้เกิดการจ่ายกระแสไฟฟ้าต่ำแต่ได้พลังงานสูงออกมาช่วยลดกำลังไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีคุณสมบัติหลักที่ทำให้แตกต่างจากแอร์ทั่วไป คือ
- ช่วยประหยัดไฟฟ้ามากกว่าแอร์ธรรมดา 22-33%
- ควบคุมอุณหภูมิคงที่ ลดการใช้กำลังไฟ
- ควบคุมการหมุนของลูกสูบทำให้เกิดความราบเรียบและเกิดการเสียดทานน้อย ควบคุมการจ่ายน้ำยาทำความเย็น
- คอมเพรสเซอร์ทำงานเพียง 43 เดซิเบล
- ใช้ระบบอินเวอร์เตอร์ขับมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ จึงทำให้กินไฟน้อย และเพิ่มประสิทธิภาพกว่า 2 แรงบิต โดยใช้แม่เหล็กนีโอไดเมียน
- ระบบอินฟาเรดตรวจจับอุณหภูมิความเคลื่อนไหวภายในห้อง
ความแตกต่างของแอร์ที่มีระบบอินเวอร์เตอร์ และแอร์ธรรมดา
- สิ้นเปลืองไฟ เนื่องจากจะทำงานจนกว่าแอร์เย็นถึงอุณหภูมิที่ตั้งไว้แล้วแอร์ก็จะหยุดทำงาน และเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น คอมเพรสเซอร์แอร์ก็จะทำงานใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งการสตาร์ทตัวเองจะกินไฟมากกว่าช่วง Run ประมาณ 3-5 เท่า
- จะเกิดเสียงทุกครั้งเมื่อระบบเริ่มการทำงานใหม่
- แอร์ที่มีระบบอินเวอร์เตอร์
- ประหยัดไฟกว่า เพราะว่าคอมเพรสเซอร์แอร์สตาร์ทครั้งเดียว และจะทำงานอย่างต่อเนื่องโดยใช้วิธีลดรอบการทำงาน
- แอร์ทำงานเงียบ เพราะเมื่ออุณหภูมิเย็นตามที่เราตั้งไว้ รอบคอมเพรสเซอร์จะต่ำ ทำให้เสียงเงียบและจะไม่มีเสียงสตาร์ทตัวของคอมแอร์ตลอดระยะเวลาการใช้งาน
- การติดตั้งและบำรุงรักษา
ในส่วนของการติดตั้ง จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ
- ส่วนของคอยล์ร้อน บริเวณที่ติดตั้งต้องแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักและแรงสั่นสะเทือนจากการทำงานได้ ในกรณีที่คอนเด็นซิ่งวางบนพื้นดิน ต้องทำฐานรองรับเครื่องด้วยคอนกรีต
ควรติดตั้งคอยล์ร้อนในบริเวณที่อากาศถ่ายเทได้สะดวกและห่างจากมุมอับ ซึ่งบริเวณที่ติดตั้ง ต้องมีการระบายน้ำได้ดีหรือเป็นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง และไม่ควรตั้งชิดกับผนังเพราะจะทำให้ระบายความร้อนยาก
- ส่วนของคอยล์เย็น (ระบบทำความเย็นภายในห้อง)
- ตั้งในบริเวณที่สามารถกระจายลมได้ทั่วทั้งห้อง อย่าติดตั้งเครื่องในมุมอับ
- อย่าให้สิ่งของกีดขวางทางไหลของอากาศ เพราะจะทำให้อากาศหมุนเวียนไม่สะดวก
- บริเวณที่ติดตั้งเครื่องต้องแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักและแรงสั่นสะเทือนจากการทำงานได้
- หลีกเลี่ยงการติดตั้งใกล้กับประตู หน้าต่าง และพัดลมดูดอากาศ
- อย่าตั้งชิดผนังที่โดนแดดจัด เพราะจะทำให้รับความร้อนจากภายนอกได้ง่าย
- พยายามติดตั้งคอยล์เย็นให้ใกล้กับคอยล์ร้อน เพื่อให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
หลักการติดตั้งเครื่องปรับอากาศแบบห้องต่างๆ
- ห้องที่มีรูปทรงสี่เหลี่ยมผื่นผ้า ไม่ควรติดตั้งเครื่องปรับอากาศบริเวณกลางห้อง เพราะจะทำให้กระจายลมเย็นได้ไม่ทั่วถึง
- กรณีที่ห้องยาวมากๆ ควรเปลี่ยนจากการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ BTU สูงๆ มาใช้ขนาด BTU ต่ำๆ เพื่อประหยัดพลังงาน โดยสามารถใช้คู่กับฉากกั้นห้อง
- ห้องที่มีความสูงตั้งแต่ 2.5 เมตรขึ้นไป ควรติดตั้งเครื่องปรับอากาศแบบแขวนแทน เพื่อให้ลมเย็นสามารถกระจายได้ทั่วห้อง ไม่ควรติดตั้งแบบตั้งพื้นเพราะลมเย็นจะกระจายไม่ถึงด้านบน
- ไม่ควรติดตั้งเครื่องปรับอากาศเหนือประตูหรือตรงข้ามประตู เพราะเมื่อเราเปิดประตู ความร้อนจากข้างนอกที่เข้ามาภายในห้องจะไปกระทบกับเซ็นเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิ ทำให้วัดอุณหภูมิผิด ซึ่งจะส่งผลให้คอมเพรสเซอร์ทำงานตลอดเวลา
การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ
เพื่อให้เครื่องปรับอากาศทำงานเต็มประสิทธิภาพและมีอายุการใช้งานยาวนาน จึงควรหมั่นดูแลบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ โดยมีข้อแนะนำโดยทั่วไปเกี่ยวกับการบำรุงรักษา ดังนี้
- หมั่นตรวจสอบและทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศทุกสัปดาห์
- ตรวจดูถาดน้ำทิ้ง ทำความสะอาดเพื่อให้การไหลของน้ำทิ้งเป็นไปอย่างสมบูรณ์
- ตรวจดูทิศทางลมเข้าออกของเครื่องปรับอากาศ โดยต้องไม่มีวัสดุปิดขวางทางลม
- ตรวจสอบและซ่อมแซมฉนวนท่อน้ำยาที่ต่อระหว่างคอยล์ร้อนและเย็น
- ตรวจสอบหน้าต่างและประตูว่ามีรูรั่วทำให้ความร้อนจากภายนอกเข้าสู่อาคารหรือไม่
- ติดต่อช่างบริการที่เชื่อถือได้ เพื่อตรวจสอบเครื่องอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
วิธีใช้เครื่องปรับอากาศอย่างถูกต้อง
- ตั้งอุณหภูมิให้เหมาะสม ไม่เย็นจัดเกินไป ซึ่งโดยปกติขณะนอนหลับ ควรตั้งไว้ที่ 26 C แต่ถ้าทำงานควรตั้งไว้ที่ประมาณ 24 C
- ควรติดตั้งจุดวัดอุณหภูมิให้ใกล้กับเครื่องทำความเย็น เพื่อทำให้การตัดต่อเป็นไปอย่างถูกต้อง
- เมื่อเริ่มต้นเปิดเครื่อง ควรปรับระดับความเร็วพัดลมที่ความเร็วสูง (Hi) ก่อน เพราะจะทำให้เย็นเร็ว พอเย็นได้ที่แล้วควรปรับไปเป็นลมต่ำ (Low)
- ควรปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด อย่าเปิดหน้าต่างทิ้งไว้เพราะจะทำให้ความร้อนเข้ามาภายในห้อง
- เปิดใช้เครื่องปรับอากาศเฉพาะส่วนและในเวลาที่จำเป็น ช่วงที่อากาศไม่ค่อยร้อน ให้ปิดเครื่องปรับอากาศแล้วเปิดหน้าต่างเพื่อให้ลมพัดถ่ายเท
- หมั่นล้างทำความสะอาดคอยล์ รวมทั้งแผงกรองอากาศให้อากาศเสมอ
- อย่าให้มีสิ่งกีดขวางทางลม
“…การบำรุงรักษาที่ดีที่สุด คือ การล้างแอร์อย่างสม่ำเสมอ…”
หากเครื่องปรับอากาศไม่ได้รับการดูแลรักษา หรือทำความสะอาดอย่างถูกต้อง จะส่งผลเสียดังนี้…
- เปลืองไฟ เพราะแอร์ที่สกปรกจากการสะสมตัวของฝุ่นละอองในแผ่นกรองหรือแผงความร้อน จะทำให้เครื่องใช้พลังงานไฟฟ้าในการผลิตความเย็น เพิ่มขึ้น 10-27% และส่งผลให้ค่าไฟเพิ่มขึ้นกว่า 10%
- เสื่อสภาพเร็ว เพราะแอร์ต้องทำงานหนักมากขึ้นในการส่งผ่านความเย็นเข้า-ออก จึงทำให้เครื่องเสื่อมสภาพเร็ว อายุการใช้งานสั้นกว่าแอร์ที่ล้างอย่างสม่ำเสมอ
- สุขภาพทรุด เพราะแอร์เป็นอุปกรณ์ที่มีทั้งความเย็นและความชื้น ซึ่งเป็นแหล่งสะสมจุลินทรีย์รวมถึงเชื้อโรคจากฝุ่นละออง เมื่อออกมาพร้อมกับอากาศในสภาพปิด จึงเป็นที่มาของโรคในระบบทางเดินหายใจ
**ดังนั้น เพื่อให้เครื่องปรับอากาศทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ ประหยัดไฟและส่งผลดีต่อสุขภาพ จึงควรทำการตรวจล้างเครื่องและตรวจเช็คอุปกรณ์ต่างๆ ทุกๆ 6 เดือน โดยช่างผู้ชำนาญ
เกร็ดความรู้เพิ่มเติม
ทำไมต้องเลือก BTU ให้พอดี
BTU สูงไป คอมเพรสเซอร์แอร์จะตัดการทำงานบ่อย ประสิทธิภาพการทำงานจะลดลงและความชื้นในห้องจะสูง ทำให้ไม่สบายตัว ราคาสูงและสิ้นเปลืองพลังงานเกินความจำเป็น
BTU ต่ำไป คอมเพรสเซอร์แอร์ จะทำงานหนัก ทำให้เปลืองพลังงานและอาจส่งผลให้แอร์เสียเร็ว
วิธีการคำนวณหาค่า BTU แบบง่ายๆด้วยตัวเอง
BTU = พื้นที่ห้อง (กว้าง*ยาว) * ค่าตัวแปร
- 700-800 สำหรับห้องนอนหรือห้องที่มีความร้อนน้อย (ห้องที่ไม่โดนแดดหรือโดนเล็กน้อย, ห้องที่ฝ้าต่ำหรือใช้แอร์ช่วงกลางคืน)
- 800-900 สำหรับห้องรับแขกหรือห้องที่มีความร้อนปานกลาง-มาก (ห้องที่โดนแดด อยู่ทิศตะวันตก หรือใช้แอร์ช่วงกลางวัน)
- 900-1000 สำหรับห้องทำงาน ห้องออกกำลังกายหรือห้องที่มีความร้อนมาก (ห้องที่โดดแดนซึ่งอยู่ทิศตะวันตกหรืออยู่ชั้นบนสุด หรือใช้แอร์ช่วงกลางวัน)
- 1000-1200 สำหรับร้านค้าร้านอาหารที่เปิดปิดประตูร้านบ่อย ร้านทำผมหรือสำนักงานที่มีคนอยู่จำนวนมาก
**หากฝ้าเพดานห้องสูงกว่า 2.5 เมตร, มีจำนวนคนในห้องมาก หรือมีคอมพิวเตอร์ ควรบวกค่า BTU เพิ่มขึ้นอีก 5% จากค่าปกติ
ความต่างน้ำยาแอร์
- R22 เป็นน้ำยาที่ใช้กันเป็นส่วนมากในปัจจุบัน เป็นสารทำความเย็นซึ่งมีราคาถูก แต่ยังมีสารที่สามารถทำลายชั้นบรรยากาศประมาณ 0.55 เมื่อน้ำยาหมด สามารถเติมใหม่ได้เลยตามการใช้งาน
- R410 เป็นน้ำยาตัวใหม่ในปัจจุบัน (ส่วนใหญ่ใช้กับแอร์ที่มีระบบอินเวอร์เตอร์) ราคาจะสูงกว่า R22 แต่ประหยัดไฟและเย็นเร็วกว่าเพราะดึงความร้อนได้ดี มีสารทำลายชั้นบรรยากาศเป็น 0 มีข้อเสียคือเมื่อมีการเติมน้ำยา ต้องถ่ายทิ้งและเดินน้ำยาใหม่ทั้งระบบ
- R 32 ตัวล่าสุดซึ่งเริ่มใช้กันบ้างแล้ว โดยคุณสมบัติจะดีกว่า R410 มีสารทำลายชั้นบรรยากาศเป็น 0 และ สามารถเติมน้ำยาได้เลยเหมือน R22 อีกทั้งยังมีราคาถูก
สาเหตุที่ทำให้แอร์มีน้ำหยด
- เกิดจากถาดหรือท่อน้ำทิ้งนั้นตัน ทำให้น้ำที่เกิดจากกระบวนการฟอกอากาศไม่สามารถระบายออกไปได้ จึงล้นและไหลย้อนกลับมา กลายเป็นน้ำที่หยดซึมมาจากตัวแอร์ในที่สุด
- ถาดคอยล์ด้านหลังของแผงคีบแอร์นั้นเกิดตัน และทำให้เกิดมีหยดน้ำเกาะอยู่นอกตัวแอร์
- ถาดน้ำทิ้งเกิดการชำรุด อาทิเช่น หลุดหรือแตก
- การเดินท่อภายในของช่างนั้นไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้หุ้มท่อไม่ได้มาตรฐานและเกิดหยดน้ำเกาะรอบๆตัว จนหยดออกมานอกตัวแอร์ในที่สุด